วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ICTกับอาเซียน


ICTกับอาเซียน


"One  Vision, One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 
        AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)


            Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว

ไอซีที เผยแพร่แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 รองรับประชาคมอาเซียน
        นางสาวอารีวรรณ ฮาวรังษี รักษาการที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT Masterplan 2015” ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นความท้าทายและโอกาสของประเทศ โดยประเด็นที่เห็นได้ชัดเจน คือ โอกาสจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การลดอุปสรรคทางการค้า และโอกาสในการลงทุน ด้วยจำนวนประชากรที่รวมกันกว่า 600 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการค้ารวม 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่และดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังมีประเทศพัฒนาหลายประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐฯ และรัสเซีย ให้ความสนใจภูมิภาคอาเซียน และเข้าร่วมเป็นคู่เจรจากับอาเซียน

           นอกจากนี้ การเป็นประชาคมยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาค เช่น สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนเรื่องความท้าทายนั้น ยังมีหลายปัจจัยที่อาเซียนต้องคำนึงถึง เช่น ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก ผลกระทบทางลบจากการเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบการค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ ยาเสพติด การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย รวมถึงสร้างความรู้สึกร่วมของประชาชนให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเป็นประชากรของอาเซียน
            ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องพร้อมรับกับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งในเชิงรุกที่จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียน และในเชิงรับที่ต้องปกป้องและแก้ไขผลกระทบในแง่ลบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยขณะนี้  กระทรวงไอซีที อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะครอบคลุมภารกิจต่างๆ ของกระทรวงฯ ทั้งด้านการพัฒนาไอซีที การเตือนภัยพิบัติ และความร่วมมือด้านสถิติ รวมทั้งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานความร่วมมืออาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียนด้วย
           ด้าน นายอาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักกิจการระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมีการเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายในปี 2558  ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ TELMIN ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 จึงได้เห็นชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT MASTERPLAN 2015 และอนุมัติการสนับสนุนเงินจากกองทุน ASEAN ICT Fund เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางกิจกรรมความร่วมมือด้านไอซีทีและสนับสนุนการรวมกลุ่ม  ของอาเซียน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีที ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อร่วมพิจารณาจัดทำแผนแม่บทฯ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมีผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วมในคณะกรรมการดังกล่าว 
             หลังจากนั้นในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนมกราคม 2554 ที่ประชุมได้มีการรับรองแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 และมีการประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนแบบเบ็ดเสร็จที่มีการระบุยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน เป้าหมาย รวมทั้งระยะเวลาการดำเนินการภายใน 5 ปีที่ชัดเจน และภายหลังจากการรับรองแผนแม่บทฯ แล้ว ที่ประชุมอาเซียนยังได้เห็นชอบให้สมาชิกแต่ละประเทศจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แผนแม่บทฯ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา ได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการผลักดันแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ
               กระทรวงฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 อย่างเป็นทางการขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนบทบาทของประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจประมาณ 250 คน นอกจากนั้น กระทรวงฯ ยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย มาร่วมให้ความรู้ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกด้วย

ไอซีที ร่วมจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


 นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการวางกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านไอซีที โดยการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน (ASEAN ICT MASTERPLAN 2015) หรือ AIM 2015 ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีของอาเซียนในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558
แผนแม่บทฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้มีความแข็งแกร่งและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีแห่งหนึ่งของโลก 3) ประชากรอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 4) ไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน รวมทั้งได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic transformation) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างศักยภาพให้แก่ประชาชน (People empowerment and engagement) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure development) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital development) และยุทธศาสตร์ที่ 6 การลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล (Bridging the digital divide)
“กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานหลักด้านไอซีทีของประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน จึงเข้าไปร่วมผลักดันการดำเนินงานในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้วยการริเริ่มเสนอแนวความคิดจัดทำแผนทิศทางการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN e-Services Roadmap) ซึ่งที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำแผน โดยจะมุ่งเน้นไปที่การผลักดันให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ในประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ ให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ และภาคธุรกิจต่างๆ ซึ่งสอดรับกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558” นางเมธินี กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินการนั้นจะเริ่มตั้งแต่การศึกษาและสำรวจสถานะการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งแผนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ สำรวจความต้องการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของประชาชน และภาคธุรกิจ ตลอดจนศึกษาถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะพัฒนาเป็นบริการร่วม (Shared services) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
“กระทรวงฯ ได้ทำการศึกษากรอบแนวทาง (Framework) และกรณีศึกษาการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอื่นๆ อาทิ APEC EU ฯลฯ และนำข้อมูลมาใช้ประกอบการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ และบริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมระหว่างประเทศ โดยจะมีการเสนอแนะมาตรการในการส่งเสริม และจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเนื้อหา (Content) ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจในอาเซียนใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย ซึ่งการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap นี้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง” นางเมธินี กล่าว
สำหรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสามารถพัฒนาเป็นบริการร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) บริการการเคลื่อนย้ายบุคคล (Movement of people) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดทำ Roadmap นี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคล ทั้งในด้านของการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement: MRA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการยอมรับคุณสมบัติของนักวิชาชีพ โดยมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่สำคัญร่วมกัน เพื่อการถ่ายเทแรงงานที่มีฝีมือได้โดยเสรี มากขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวก โดยลดขั้นตอนและกระบวนการทางเอกสารในการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน
นอกจากนี้ในด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมือง และลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดเสรีการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในกระบวนการออกวีซ่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำ ASEAN Single Visa รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียนในฐานะแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน (ASEAN Single Destination)
2) การเคลื่อนย้ายสินค้า (Movement of goods) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap จะมีส่วนสนับสนุนให้การพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออก ด้วยระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว หรือระบบ ASEAN Single Window ที่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้สามารถขยายการพัฒนาไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ครบทุกประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ในปี 2558
**การแต่งกายของประเทศต่างๆในอาเซียน**
thailand

 ชุดแต่งกายประจำชาติไทย
cambodia

ชุดแต่งกายประจำชาติกัมพูชา  
 
indonisiaload 

ชุดแต่งกายประจำชาติอิโดนีเซีย

malasia

ชุดแต่งกายประจำชาติมาเลเซีย

laos 

ชุดแต่งกายประจำชาติลาว

myanmar

ชุดแต่งกายประจำชาติพม่า

Philipines

ชุดแต่งกายประจำชาติฟิลิปินส์

singkapore

ชุดแต่งกายประจำชาติอินโดนีเซีย

vietnam

ชุดแต่งกายประจำชาติเวียดนาม

bruneipicture

ชุดแต่งกายประจำชาติบรูไน

ชุดแต่งกายประจำชาติของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้นสะท้อนให้เราเห็น วัฒนธรรม สังคมที่หลากหลายของแต่ละประเทศส่วนใหณ่นั้นมีอิทธิพลมาจากการนับถือศาสนาซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบวัฒนธรรม สังคม ประเพณีของแต่ละประเทศซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันออกไปอยู่บ้าง


(cr.http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5498&filename=index)
(cr.http://mew29240.blogspot.com/2013/01/ict_17.html)