วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง

 

ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" กับ "ยุทธศาสตร์การพัฒนา ICT"

            เนื่องจากยุทธศาสตร์ที่1 เป็นยุทธศาสตร์ที่มีการพัฒนาอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรให้ได้รับความรู้ และทักษะที่มีความเหมาะกับการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นผู้รู้ ICTและสามารถใช้ ICT อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และเป็นการสร้างองค์ความรู้สู่สังคม และจัดให้มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน โดยมีการจำแนกกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มงาน และกลุ่มอายุ มีการจัดทำแผนในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับภาระงาน  และการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

           จากยุทธศาสตร์ที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี  เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับพฤติกรรมในทุก ระดับ เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  รวมถึงการพัฒนา  และการบริหารประเทศ  ซึ่งจะต้องดำเนินไปในทางสาย กลาง และต้องอาศัยความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม  และความซื่อสัตย์สุจริต  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความพากเพียร ความมีสติ  เพื่อให้พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากโลกภายนอก และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ด้วย
          
 ดังนั้น  การเลือกยุทธศาสตร์ที่  1  จึงมีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมากที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาความรู้  และทักษะที่มีความเหมาะกับการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ   การใช้ ICT อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม   การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง   การสร้างองค์ความรู้สู่สังคม  การสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับภาระงาน และการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เป็นต้น


             เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้พบจากงาน ตลาดนัดความรู้ “พลังแห่งปัญญา...สู่ชุมชนเป็นสุข” จากท่านอาจารย์บุญมา ป้านประดิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อาจารย์ท่านได้เล่าถึงการใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง รวมกับ เครื่องมือที่ท่านประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการเกษตร ท่านเริ่มต้นด้วยธรรม โดยท่านให้ความเห็นว่า หากจะทำเกษตรในแนวพอเพียงควรต้องมีธรรม เพื่อช่วยปรับจิตใจของเราก่อน อย่างน้อยที่สำคัญ คือ ศีล 5 นั่นเอง หลังจากนั้นท่านก็พาเข้าสู่เรื่องของการทำอย่างไรให้พอเพียงด้วยการยกตัวอย่างการทำเกษตรบนพื้นที่ 1ไร่ สิ่งสำคัญคือ


           การจัดที่ดิน นั่นคือต้องมีการวิเคราะห์พื้นที่ เอาโฉนดมาขยาย ทำเป็นแผ่นใหญ่ เพื่อจัดระบบที่ดิน ว่าจะปลูกพืช สร้างบ้าน ขุดบ่อ ทำทางเดินตรงส่วนใด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างง่ายๆ ของสิ่งที่ท่านคิดและเป็นเคล็ดลับคือ การขุดบ่อน้ำ มักจะมีการขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขุดเสร็จน้ำก็แห้ง ท่านบอกว่าอย่างนี้ไม่มีการวิเคระห์สภาพที่ดินก่อน ทางแก้คือ ต้องไปดูลักษณะที่ดิน บ่อน้ำต้องขุดไปยังส่วนที่ต่ำที่สุด ไม่ต้องขุดเป็นสี่เหลี่ยมแต่ให้ขุดเป็นวงกลม สามารถทำเป็นแนวโค้งไปตามรูปที่ดินได้ นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นที่ต้องลึกเท่ากันหมด มีลึก มีตื้น เพื่อให้ปลาได้วางไข่เป็นต้น ท่านยังให้ข้อคิดเรื่องการปลูกพืช กับ อบต.ทั้งหลายว่าไม่จำเป็นต้องปลูกชนิดเดียวกันทั้งตำบล ทั้งหมู่บ้าน เพราะไม่สามารถนำมาแลกกัน และพึ่งพากันเองในหมู่บ้านได้ ควรปลูกหลายๆชนิด และควรปลูกเพื่อให้สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนภายในหมู่บ้านได้ ให้หมู่บ้านพึงพาตนเองได้ เหลือก็ค่อยนำไปขาย การใช้ยาที่เป็นสารเคมีเพื่อฆ่าแมลง มีการสาธิตตัวอย่างการทำยาไล่แมลงที่ทำได้จาก มะกรูดที่หัน แล้วนำไปผสมกับ แฮลกฮอล์ ประมาณ 72 ชั่วโมง แล้วนำไปผสมน้ำเพื่อไปฉีดไล่แมลงเป็นวิธีการง่ายๆ ที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ ท่านยังให้คำแนะนำในการไล่แมลงว่าถ้าจะให้ได้ผลดีก็ต้องดูและเข้าใจพฤติกรรมของแมลงด้วย เช่นแมลงออกหากินประมาณ 6 โมงเช้ากลับ 6 โมงเย็น ก็ควรไปพ่นยาไล่แมลงที่ทำขึ้นใช้เอง ก่อนเวลาดังกล่าว หากไปพ่นทีหลังก็จะไม่ประสบความสำร็จ นอกจากนี้ท่านยังได้พาชมเครื่องมือต่างๆที่ท่านคิดค้นขึ้นอีกมากมายเช่น เครื่องมือในการทำปุ๋ย การทำแก๊สไว้ใช้เอง จนกระทั้งถึง BIO DIESEL อีกด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ คือต้องคิดถึงความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ชุมชนมี และจะใช้ประโยชน์อย่างไรให้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น เตาเผาแรงดัน หากต้องซื้อแกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงก็ไม่ควรลงทุนทำเครื่องนี้แล้วเป็นต้น จึงควรหาและนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งผลผลิตที่ได้ต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เช่น หากผลิตถ่านมาแล้วไม่มีคนใช้ ก็ไม่ควรผลิตไม่ควรลงทุนในเครื่องจักรเป็นต้น...ผมว่าเป็นการนำเสนอเทคโนโลยี เพื่อความพอเพียงและสอนเรื่องการคิดให้เหตุผลพร้อมกันไปในตัวทีเดียว
ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งผลผลิตที่ได้ต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เช่น หากผลิตถ่านมาแล้วไม่มีคนใช้ ก็ไม่ควรผลิตไม่ควรลงทุนในเครื่องจักรเป็นต้น...ผมว่าเป็นการนำเสนอเทคโนโลยี เพื่อความพอเพียงและสอนเรื่องการคิดให้เหตุผลพร้อมกันไปในตัวทีเดียว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น